โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ SME ปี 2561

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการให้การส่งเสริม สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ได้จัดทำโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ให้มีโอกาสเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้สะดวก สร้างยอดขายให้แก่ผู้ประกอบการ โดยเข้าไปช่วยเตรียมความพร้อมในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดออนไลน์ ให้ความรู้และคำปรึกษาแนะนำในการทำธุรกิจบนตลาดออนไลน์ การจัดกิจกรรมสนับสนุนการขายบนตลาดออนไลน์ เช่น การส่งเสริมการขาย การชำระเงิน การส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างเป็นระบบและยกระดับผู้ประกอบการให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

2. วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น
  2. เพื่อสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการตลาดออนไลน์แก่ผู้ประกอบการให้มีศักยภาพการแข่งขันมากยิ่งขึ้น
  3. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการตลาดออนไลน์สำหรับ SMEs ให้เป็นช่องทางการตลาดที่ยั่งยืน

3. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์

นิติบุคคล บุคคลธรรมดา หรือวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการในโครงการ สสว. และผู้ประกอบการในโครงการภายใต้แผนบูรณาการที่ลงทะเบียน SME ผู้รับบริการภาครัฐ

4. พื้นที่ดำเนินการ

พื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันตก

5. ขอบเขตการดำเนินงาน

5.1 รับสมัครกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ แพร่ประชาสัมพัธ์การรับสมัคร ดำเนินงานโครงการ ดังนี้

5.1.1 ดำเนินการรับสมัครกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการฯ โดยมีจำนวนผู้ประกอบการเข้าร่วม โครงการไมน้อยกว่า 15,000 (หนึ่งหมื่นห้าพัน) ราย จำนวนสินค้าและบริการไม่น้อยกว่า 35,000 (สามหมื่นห้าพัน) ผลิตภัณฑ์ (SKU)

5.1.2 ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ผ่านสื่อต่างๆ ไม่น้อยกวา 2 (สอง) ครั้ง อาทิ

สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ เป็นต้น

5.1.3 จัดงานแถลงข่าวเปิดโครงการฯ จำนวน 1 ครั้ง และปิดโครงการฯ จำนวน 1 ครั้ง โดยมี สื่อมวลชนเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 10 (สิบ) สื่อ ครอบคลุมสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ สอโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ โดยหน่วย ร่วมดำเนินการฯ ต้องนำเสนอรูปแบบงานแถลงข่าวให้ สสว. เห็นชอบก่อนดำเนินการ

5.1.4 จัดเตรียมหัวหน้าโครงการจำนวน 1 คน และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบไม่น้อยกว่า 5 คน เพื่อ ประสานงานกับ สสว. ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ และต้องมีศักยภาพในการจัดเก็บข้อมูล และจัดทารายงานเพื่อส่งมอบงานที่มีประสิทธิภาพ

5.1.5 ในการจัดกิจกรรม Work shop หรือกิจกรรมสัมมนานั้นต้องมีการแสดงโลโก้ สสว. ตาม รูปแบบมาตรฐาน ณ สถานที่จัดงานทุกครั้ง

5.2 ตรียมความพร้อมผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ทิ การถ่ายภาพสินคา ารจัดทา เนื้อหาสินค้า ารรับปรุงเนื้อหาสินค้า ป็นต้น ดังนี้

5.2.1 ดำเนินการแบ่งกลุ่มผู้ประกอบการออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1) ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ปี 2560 แบ่งเป็น

– ผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการแล้วแต่ยังไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม

– ผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการและเข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ แล้ว แต่ยังไม่ได้นำสินค้าขึ้นขายบนตลาดออนไลน์

2) ผู้ประกอบการที่รับสมัครปี 2561

5.2.2 ดำเนินการจัดทาภาพนิ่งสินค้า/บริการ รวมถึงจัดทาเนื้อหาของสินค้า/บริการ หรือปรับปรุง เนื้อหาสินค้า/บริการ พร้อมจัดทำ workshop อาทิ การสอนการจัดองค์ประกอบ เทคนิคการถ่ายภาพ การเขียน content เป็นต้น จำนวนไม่น้อยกว่า 35,000 (สามหมื่นห้าพัน) ผลิตภัณฑ์

5.2.3 ประสานงานกับ สสว. ในการร่วมกัน พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการที่เข้าร่วม

โครงการฯ ทั้งหมด ดังนี้

– ข้อมูลผู้ประกอบการ ประกอบด้วย หมายเลขลงทะเบียน SME ผู้รับบริการภาครัฐ ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ เป็นต้น

– ข้อมูลสินค้าและบริการที่เข้าร่วมโครงการฯ แบ่งเป็น ประเภทสินค้า จังหวัด เป็นต้น

– หลักสูตรการสอนออนไลน์

โดยสามารถส่งออกข้อมูลในรูปแบบ Excel และจัดทาระบบการติดตามผลการดำเนินงาน ที่สามารถติดตามได้ตลอดเวลา พร้อมจัดหาพื้นที่จัดเก็บและดูแลระบบไม่น้อยกวา 1 (หนึ่ง) ปี นับจากวนที่สิ้นสุด สัญญา โดยหน่วยร่วมดำเนินการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย และจัดทำคู่มือการใช้งานระบบฯ ส่งมอบให้ สสว. โดย ประสานงานก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน และให้หน่วยร่วมดำเนินการเป็นผู้ดำเนินการโอนย้ายข้อมูล

5.3 ส่งเสริมการค้าตลาดออนไลน์ในด้านต่างๆ ทิ ห้ความรู้ ารสินค้าขึ้นขายบนตลาด ออนไลนารบริหารจัดการโลจิสติกส์ ารชาระเงิน ารพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ารยกระดับมาตรฐานสินค้า รให้ คำปรึกษา ป็นต้น ดังนี้

5.3.1 ดำเนินการจัดอบรมให้ ความรู้เกี่ยวกับ การทำ ตลาดออนไลน์ อาทิ การบริหารจัดการ

Packaging / e-Payment / Logistics มาตรฐานสินค้า เป็นต้น พร้อมทั้งบันทึกการจัดอบรมในรูปแบบไฟล์ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเผยแพร่ทาง Social Media โดยมีผู้ประกอบการเข้ารับการอบรม จำนวน ไม่น้อยกว่า 3,000 (สาม พัน) ราย และให้นาส่งหมายเลขทะเบียน SME ผู้รับบริการภาครัฐ ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ พร้อม ลายเซ็นผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการอบรมประกอบการส่งมอบงาน

5.3.2 จัดทำหลักสูตรการสอนออนไลน์ รวมจำนวนไม่น้อยกว่า 10 (สิบ) หลักสูตร หลักสูตรละไม่น้อย

กว่า 1 ชั่วโมง และต้องมีตัวอย่างเนื้อหา ในรูปแบบ Word พร้อมเผยแพร่และสร้างการรับรู้ ให้กับผู้ประกอบการ จำนวนไม่น้อยกวา 15,000 ราย และให้นำส่งหมายเลขทะเบียน SME ผู้รับบริการภาครัฐ ชื่อ-นามสกุล เบอร์ โทรศัพท์ อีเมล์ ประกอบการส่งมอบงาน

5.3.3 เนื้อหาหลักสูตรการอบรมต้องเกี่ยวข้องกับการทาตลาดออนไลน์ ดังนี้

– หลักสูตรเบื้องต้นในการทำตลาดออนไลน์

– หลักสูตรขั้นกลาง (เชิงปฏิบัติการ) เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ระบบตลาด

– หลักสูตรขั้นสูง สำหรับผู้ประกอบการที่ขึ้นขายในตลาดออนไลน์แล้ว และต้องการเพิ่ม

5.3.4 ดำเนินการนาสินค้า และบริการ ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ขึ้นขายบน e-Market place และ Social Media อาทิ Fan Page / Facebook / Line เป็นต้น ตามความจำเป็นของสินค้าและ บริการ จำนวนไม่น้อยกว่า 3,000 (สามพัน) ราย

5.3.5 ดำเนินการส่งเสริมการตลาด (Promote) เพื่อกระตุ้นให้เกิดยอดขายให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนไม่น้อยกว่า 3,000 (สามพัน) ราย

5.3.6 ประสานงานในการเก็บข้อมูลยอดขายที่เพิ่มขึ้นของสินค้า/บริการ ที่เข้าร่วมโครงการในขอบเขตที่สามารถดำเนินการได้

5.4 ดำเนินงานจัดทำรายงานสรุปฉบับสมบูรณ์ (แบบ สสว.300) ของ โครงการส่งเสริมพัฒนา ตลาดอิเล็กทรอนิกส์สาหรับ SME ปีงบประมาณ 2561” โดยสรุปผลงานภาพรวมของโครงการและขอบเขต การดำเนินการตามรายละเอียดโครงการ อีกทั้งแผนการดำเนินการ แผนการใช้จ่ายเงิน พร้อมทั้งสรุปปัญหา- อุปสรรค์ รวมไปถึงแนวทางการแก้ไข เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง การดำเนินงานต่อไป ในรูปเข้าเล่มและ บันทึกเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 (สาม) ชุด

6. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

ผลผลิต เป้าหมาย หน่วยนับ
1.  สินค้าและบริการ ได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาด

อิเล็กทรอนิกส์ ไม่น้อยกว่า

35,000 ผลิตภัณฑ์์
2.  ผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมการค้าตลาดออนไลน์ ไม่น้อยกว่า 15,000 ราย
ผลลัพธ์ เป้าหมาย หน่วยนับ
 

มียอดจาหน่ายผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ไม่น้อยกว่า

 

195

ล้านบาท

(2-3 ปี)

** หมตุ ผลชิงบวกต่อเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานนอกเหนอจากตัวชี้วัด ความสำเร็จของโครงการตามตารางข้างต้น เช่น ูลค่าการลงทุน ตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้น ะต้องระบุ เพิ่มเติมไว้ในรายงานให้ กับ สสว .ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานต่อไป