สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ได้จัดกิจกรรมอบรมภายใต้โครงการยกระดับผู้ประกอบการายย่อย (MSME Step up) ปีงบประมาณ 2565 หลักสูตร “พลิกธุรกิจในยุคดิจิทัล ด้วยเครื่องมือการตลาดและจัดการธุรกิจออนไลน์” ณ ห้อง Ballroom ศูนย์นวัตกรรมและความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ชั้น 7 อาคารบางซื่อจังชั่น เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.00 – 16.30 น.
คุณนิติ วิทยาวิโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ขึ้นกล่าวรายงานและชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ มทร. ธัญบุรี ในฐานะหน่วยร่วมที่ได้ร่วมมือกับ ทาง สสว. ดำเนินงาน “โครงการยกระดับผู้ประกอบการรายย่อย (MSME Step up) ปีงบประมาณ 2565” เพื่อยกระดับขีดความสามารถและศักยภาพของผู้ประกอบการรายย่อย หรือ Micro SME ในด้านต่าง ๆ โดยการพัฒนาความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการประกอบธุรกิจ การเลือกใช้เครื่องมือดิจิทัลในการทำการตลาดยุคดิจิทัล การยกระดับมาตรฐานสินค้า โดยมีกิจกรรม การดำเนินงานโครงการประกอบด้วย กิจกรรมส่งเสริมการประกอบการเพื่อเข้าสู่ระบบของภาครัฐ
การดำเนินงานโครงการเน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายครอบคุลมทั่วประเทศ โดยจังหวัดนครปฐม เป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่รับผิดชอบพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวน 19 จังหวัด มีเป้าหมายดำเนินงานเพื่อยกระดับผู้ประกอบการรายย่อย (Micro SME) จำนวน 285 ราย ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการประกอบธุรกิจ พร้อมทั้งผลักดันผู้ประกอบการรายย่อย (Micro SME) ให้เข้าสู่ระบบของภาครัฐ การเข้าร่วมการอบรมใน 3 วันนี้ ซึ่งจะมีวิทยากรหลากหลายท่านมาให้ความรู้ ทั้งด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง การใช้แพลตฟอร์มที่เป็นเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินธุรกิจ
คุณนิติ วิทยาวิโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
รศ.ดร. สมหมาย ผิวสะอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดการอบรมโครงการยกระดับผู้ประกอบการรายย่อย (MSME Step up) ปีงบประมาณ 2565 ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีเป็นหน่วยงานร่วมในการให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้มุ่งหวังที่จะยกระดับทักษะและขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ให้แก่ผู้ประกอบการ MSME เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุค Next Normal ทาง มทร.ธัญบุรี พร้อมที่จะผลักดันและยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการรายย่อยในด้านต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการรายย่อย การเลือกใช้เครื่องมือดิจิทัลในการทำการตลาดยุคดิจิทัลให้สามารถเข้าสู่ระบบของภาครัฐได้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้รับความรู้ ทักษะ และประโยชน์ต่าง ๆ จากท่านวิทยากร ทีมที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่ของ มทร. ธัญบุรี ที่จะได้มีส่วนช่วยผลักดันให้ธุรกิจของท่านเติบโตมากยิ่งขึ้น และขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านสามารถผ่านยุค New Normal นี้ได้ พร้อมโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน
ดังนั้น การเข้าร่วมโครงการนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับผู้ประกอบการ MSME ทุกท่านจะได้รับความรู้จากวิทยากรและที่ปรึกษาในการแนะนำแนวทางในการนำเครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ทำให้ผู้ประกอบการ SME สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุค Next Normal ได้
รศ.ดร. สมหมาย ผิวสะอาด
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เจ้าหน้าที่ส่วนงานจาก สสว. ได้ชี้แจงภารกิจของโครงการ และโครงการต่าง ๆ ที่ทาง สสว. ได้ดำเนินการในปี 2565 ผ่านระบบ Zoom ดังนี้
ต่อด้วยการบรรยาย เรื่อง “การตลาดออนไลน์ในยุคดิจิทัล และกลยุทธ์ที่ออกแบบสำหรับ MSME โดยเฉพาะ” โดย คุณภิญญาพัชร์ กิตติหิรัณย์ภาส ผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Technology ได้มาแนะนำเกี่ยวกับความสำคัญของการตลาดออนไลน์ในปัจจุบัน เทรนด์ออนไลน์อะไรที่กำลังจะมีบทบาทสำคัญ ทิศทางการพัฒนา MSME (digital transform) สำหรับการใช้เครื่องมือ Social Listening Tools ง่ายๆ ในการเดาทางพฤติกรรมลูกค้า การจัดทีมงานให้รองรับกับการทำงานออนไลน์ (Digital Transformation in Team) การคำนวณต้นทุนและ ROI ทางออนไลน์ เทคนิคการกระจายความเสี่ยงต่อการขาดทุนในการทำการตลาดออนไลน์ในแบบ MSME ซึ่งประกอบไปด้วย การกระจายความเสี่ยงด้วยช่องทาง (Channels) การกระจายความเสี่ยงด้วยสินค้า (Product or Service) และการกระจายความเสี่ยงด้วยเนื้อหา (Content) รวมถึงได้สอนการสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ด้วยกลยุทธ์ STP ให้แตกต่างจากคู่แข่ง และการประยุกต์ใช้ STP สู่เครื่องมือที่ง่ายขึ้น Buyer Persona พร้อมทั้งได้ยกตัวอย่าง Case Study การวางแผนแคมเปญการตลาดออนไลน์ และการใช้ Platform ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ธุรกิจค้าปลีก, ธุรกิจแบบ B2B, ธุรกิจบริการ, ธุรกิจที่ขายของมีมูลค่า (ของแพง) เป็นต้น
คุณภิญญาพัชร์ กิตติหิรัณย์ภาส
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Technology
สำหรับวันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2565 ช่วงเช้าพบกับการบรรยายและกิจกรรม Workshop เรื่อง “ขายออนไลน์และจัดการหลังบ้านได้ทุกที่ด้วย Lnwshop” โดย คุณเมธปริยา คำนวณวุฒิ หัวหน้าฝ่ายการตลาด บริษัท แอลเอ็นดับเบิ้ลยู จำกัด ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือสำหรับทำธุรกิจออนไลน์ โดยได้แบ่งออกตามประเภทกลุ่มเครื่องมือ ได้แก่ Social Media, E-Commerce, Google Channel และ Web Analyst ที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจออนไลน์ และกิจกรรม Workshop การเปิดร้านผ่านช่องทางการขายของออนไลน์บน LnwShop กับระบบช่วยจัดการตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการขายที่ง่ายและฟรีไม่มีค่าบริการรายปีแรกเข้า ไม่มีการจำกัดพื้นที่เว็บ ไม่จำกัดจำนวนสินค้า ครบทุกความสามารถสำหรับการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ พร้อมได้แนะนำเกี่ยวกับเคล็ดลับต่าง ๆ ในการตั้งค่าการงานใช้งานระบบหลังบ้านและหน้าบ้านแบบไม่ลับจัดเต็มให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่อยากเปิดร้านค้าออนไลน์ให้สามารถนำสินค้าขึ้นขายได้แบบทันที รวมถึงสามารถเชื่อมต่อการขายไปได้ทั้ง Marketplace, Social Media และ Google Channel โดยสามารถเริ่มต้นเปิดร้านได้ที่ www.Lnwshop.com
คุณปัญญาพร วิทยาประดิษฐ์
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Technology บริษัท นิปป์ ครีเอชัน จำกัด
ส่วนช่วงบ่ายพบการบรรยาย เรื่อง “การสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ใน TikTok พร้อมเทคนิคขายให้ปัง ทำตัวให้ดังบน TikTok” และ เรื่อง “เทคนิคการทำ Content แบบเข้าใจลูกค้าบน TikTok” โดย คุณคณากร คงประทีป TikTok Content Creator ซึ่งได้มาเพิ่มความรู้และกลยุทธ์ในการใช้งาน TikTok สำหรับการเพิ่มช่องทางขาย ซึ่งการจะเพิ่มช่องทางการขายบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ สามารถเลือกช่องทางของประเภทเครื่องมือตามความเหมาะสมได้ ดังเช่น ช่องทางสำหรับสื่อสาร อาทิ Youtube, Twitter, IG เป็นต้น ช่องทางสำหรับซื้อ อาทิ Facebook, Line, Shopee, Lazada เป็นต้น และช่องทางสำหรับสร้างแบรนด์ อาทิ TikTok เป็นต้น พร้อมสอนทริคที่ต้องรู้ก่อนใช้งาน TikTok อาทิเช่น 1) การที่คนเข้าดูคลิปไม่จำเป็นต้องดูนาน และดูจบ การที่คนดูคลิปจนจบแสดงว่าคลิปนั้นน่าดูหรือน่าสนใจ 2) การที่คลิปจะติดเป็น Viral ได้ คือต้องมีคนดูนาน ดูจบ และดูซ้ำ 3) การสร้างคลิปให้สามารถเป็น Viral ได้ คือต้องสร้างสรรค์ แตกต่าง เร็ว แปลก และลึก 4) คอนเทนต์ที่ดีไม่จำเป็นต้องเพอร์เฟค แต่ต้องสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้นในการเสพสื่อต่าง ๆ ผู้ขายมีเวลาเพียงแค่ 7 วินาที ในการดึงดูความสนใจจากผู้บริโภคเหล่านั้นให้ได้ คลิปวิดีโอสั้น ๆ จึงเป็นสื่อที่ดีที่สุดในการโน้มน้าวให้เกิดความไว้วางใจ และพฤติกรรมการสั่งซื้อ รวมถึงได้สอนเคล็ดลับการใช้ TikTok โดยแบรนด์ วิธีนำเสนอเอกลักษณ์สินค้าให้มีเรื่องราวที่น่าสนใจ
คุณคณากร คงประทีป
TikTok Content Creator
ในวันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม 2565 ช่วงเช้าพบกับหัวข้อ เรื่อง “เทคนิคการถ่ายภาพสินค้าและทำแบนเนอร์โฆษณาด้วยแอพ Canva” โดย คุณปัญญาพร วิทยาประดิษฐ์ บริษัท นิปป์ ครีเอชัน จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Technology ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานโทรศัพท์ ความรู้พื้นฐานในการตั้งค่าโทรศัพท์ เทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้องพื้นฐานของโทรศัพท์ เช่น หลักการโฟกัส, หลักการใช้แสง, หลักการจัดวางองค์ประกอบภาพ, ขนาดของภาพ, มุมและองศาการถ่ายภาพ และการลบพื้นหลังของภาพ รวมถึงสอนการใช้ Canva เครื่องมือในการออกแบบแบนเนอร์โฆษณา สำหรับการสร้างชิ้นงานสามารถทำได้ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ เพียง 5 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย 1) การเปิด Canva และเลือกประเภทงานออกแบบ 2) การเลือกแม่แบบที่ต้องการ 3) การอัปโหลดภาพถ่ายหรือเลือกจากสต็อกที่มีให้เลือกมากกว่าล้านภาพ 4) การปรับ แต่ง ใส่ฟิลเอตอร์ ใส่ข้อความ และ 5) การบันทึกและแชร์ชิ้นงาน
คุณเมธปริยา คำนวนวุฒิ
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แอลเอ็นดับเบิ้ลยู จำกัด
ส่วนช่วงบ่ายต่อด้วย กิจกรรม Workshop : แบ่งกลุ่มการให้คำปรึกษาด้านดิจิทัลเพื่อประเมินศักยภาพผู้ประกอบการรายกิจการเบื้องต้น โดย อาจารย์ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาธุรกิจ ประกอบด้วย 1) ผอ.นิติ วิทยาวิโรจน์ 2) ผศ.ดร.บุญธิดา เอื้อพิพัฒนากูล 3) อาจารย์ชานนท์ มหาสิงห์ 4) คุณนิธิกานต์ รงรอง และ 5) คุณปัญญาพร วิทยาประดิษฐ์ ซึ่งได้แบ่งกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย จำนวน 4 กลุ่ม เพื่อเข้ารับคำปรึกษาแนะนำตามประเภทของธุรกิจหลังจากที่ได้รับองค์ความรู้จากการจัดกิจกรรมอบรมของโครงการ
จากการแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covit-19) ในขณะนี้ ทางหน่วยร่วมมทร.ธัญบุรี ได้ปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางการแพร่ระบาดของโรคอย่างเคร่งครัดในการลงพื้นที่จัดอบรม และ Workshop โดยได้ดำเนินการประสานกับสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อดำเนินการตรวจ ATK เพื่อทำการคัดกรองผู้ประกอบการทุกคนก่อนเข้าร่วมงาน ดังนี้
สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย (MSME Step up) ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และสมัครเข้าร่วมโครงการกับหน่วยงานร่วมในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งสามารถติดตามรายละเอียดโครงการได้ที่ www.smeonline.info , www.smeonline.rmutt.ac.th/stepup65 หรือ Facebook: SMEONLINE BY OSMEP หรือ Facebook: SME RMUTT
ภาพถ่ายโดย : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
จัดทำอัลบั้มภาพโดย : ฝ่ายพัฒนาสารนิเทศอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ธัญบุรี